Wednesday, November 30, 2011

การวางแปหลังคาด้วย Beam System

ขอหยิบยกการวางแปในโครงสร้างหลังคาใน ซึ่งเป็นคำถามใน ThaiBIM มาแบ่งปันกันครับ ^^

1. เตรียมพื้นที่ที่จะวางแป

2. เลือกคำสั่ง Beam System ที่ Structure Tab > Structure > Beam System

3. เลือกชนิดและขนาดของแปที่ต้องการ ที่ Properties > Pattern > Beam Type (หากไม่มีให้ Load จาก Library ที่ Structural > Framing)

4. กำหนดระยะห่างระหว่างแปเป็น 600 มิลลิเมตร (หรือค่าที่ต้องการ) ที่ Properties > Pattern > Fixed Spacing

5. กำหนดระนาบที่ต้องการวางแป โดยเลือกคำสั่ง Set Work Plane ที่ Modify|Create Beam System Boundary Tab > Work Plane > Set

6. ที่ Work Plane > Specify a new Work Plane > เลือก Pick a plane จากนั้นกด OK

7. จากนั้น Click บนระนาบที่ต้องการ ดังรูป

8. วาด Profile เพื่อกำหนดขอบเขตที่ต้องการวางแป

9. ทิศทางของการวางแป จะถูกกำหนดโดยเส้นที่มีเส้นสั้น ๆ สองเส้นขนาบอยู่ หากต้องการเปลี่ยนให้เลือกที่คำสั่ง Beam Direction ที่ Modify|Structural Beam System>Edit Boundary Tab > Draw > Beam Direction > Pick Line

10. เลือกเส้นที่ต้องการให้เป็นตัวกำหนดทิศทางของแป
11. กด Finish Edit Mode ที่ Modify|Structural Beam System>Edit Boundary Tab > Mode > Finish Edit Mode

12. หากแปจมลงไปในระนาบ ให้ยกขึ้นโดยกำหนดค่าที่ Properties > Constraints > z-Direction of Value ให้มีค่าที่กับความลึกของแป (ในที่นี้เป็น 140)

13. ผลลัพธ์ที่ได้

14. เมื่อทำครบสองด้าน จะได้ผลดังรูป

Monday, November 28, 2011

Autodesk University 2011


งานสัมมนา Autodesk University 2011 (AU) กำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว

งาน Autodesk University เป็นงานสัมมนาที่ทาง Autodesk จัดขึ้นทุกปี เพื่อให้ นักออกแบบ วิศวกรและสถาปนิก ได้มา Update ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Technology แลกเปลี่ยนประสบการณ์การประกอบวิชาชีพ รวมถึงกลยุทธใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีวิทยากรจากสาขาอาชีพต่าง ๆ รวมถึงผู้เชียวชาญจากทาง Autodesk มารวมบรรยาย

สำหรับงาน AU2011 ในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน (พรุ่งนี้) ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2011 ที่ The Venetian Hotel: Las Vegas

สำหรับคนที่ไม่สามารถเดินทางไปร่วมได้ สามารถเข้าร่วมได้ผ่านทาง Autodesk University Visual 2011 (AU Visual 2011) ได้ โดย Register ที่เวปของ Autodesk University


ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าร่วม Class ต่าง ๆ ของ AU2011 ได้บางส่วน (ประมาณ 200 จาก 650 Classes) ร่วมส่งคำถามไปยังวิทยากรได้ (แต่คงต้องเป็นภาษาอังกฤษนะครับ) และดู Online Exhibition ของผู้สนับสนุนต่าง ๆ ในงานได้ครับ

Wednesday, November 23, 2011

AutoCAD Quick Send To 3ds Max Now Available


Autodesk Labs ออก add-in AutoCAD Quick Send to 3ds Max ซึ่งช่วยให้เราสามารถส่งชิ้นงานที่เราสร้างใน AutoCAD ไปยัง 3ds Max หรือ 3ds Max Design ได้โดยตรง

Monday, November 21, 2011

การนำ 3D Model มาช่วยอธิบาย 2D Drawing

เป็น Tips เล็ก ๆ แต่มีประโยชน์มากครับ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนอาจจะทราบแล้ว แต่นำมาบอกกล่าวสำหรับคนที่ยังไม่ทราบละกันครับ

ใน 3D Software ต่าง ๆ ของ Autodesk เรามักจะเห็น กล่องสี่เหลี่ยมสีเทา ๆ ลอยอยู่มุมขวาบนของจอ (เป็นส่วนใหญ่) ซึ่งเรียกว่า ViewCube ใช้สำหรับ หมุน 3D ไปยังมุมต่าง ๆ ตามด้านของกล่อง เช่น Top, Front, Right เป็นต้น
สำหรับ Revit เราสามารถใช้ View Cube ช่วยในการตัด 3D Model ให้เป็นไปตาม 2D View ต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Plan, Section หรือ Detail ได้อย่างรวดเร็ว



1. เปิด 3D View ขึ้นมา ที่ View Tab > Create > Default 3D View

2. Right Click ที่ View Cube
3. เลือก Orient to Veiw > Floor Plans > Floor Plan: Level 1 (กรณีที่ต้องการให้ 3D แสดง Plan ชั้น 1)
4. ผลลัพธ์ที่ได้ ดังรูป
ตัวอย่าง ในการใช้งาน Function นี้กับ View อื่น ๆ

Section

Detail


Saturday, November 12, 2011

การแก้จุดต่อข้อหักของราวบันได

อีกปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับ Railing คือ ในส่วนที่มีการหักของบันไดมักจะหายไปหรือไม่ต่อเนื่อง ดังรูป

วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ให้เพิ่มระยะให้กับหักของ Railing ดังนี้ครับ

1. เลือกราวบันไดที่ต้องการแก้ไข จากนั้นเลือกคำสั่ง Edit Path ที่ Modify | Railings Tab > Mode > Edit Path
2. เพิ่มระยะหักให้กับบันได ดังรูป


3. กด Finish Edit Mode ที่ Modify | Railing>Edit Path Tab > Mode > Finish Edit Mode จะได้ผลลัพธ์ ดังรูป

หรือไม่ก็คงต้องเขียนข้อต่อขึ้ันมาใหม่ ด้วยการสร้าง Family หรือ Model In-Place ครับ

การสร้าง Railing ให้มี Slope ตามบันได

ปัญหาเล็ก ๆ ที่ถามกันบ่อยครับ เมื่อต้องการสร้าง Railing เพื่อใช้เป็นราวกันตก แต่ Railing ไม่ Slope ไปตาม Slope ของบันได ดังรูป

เราต้องเลือกให้บันได เป็น Host ของ Railing โดย

1. เลือกราวบันไดที่ต้องการแก้ไข จากนั้นเลือกคำสั่ง Edit Path ที่ Modify | Railings Tab > Mode > Edit Path

2. เลือกคำสั่ง Pick New Host ที่ Modify | Railing>Edit Path Tab > Tools > Pick New Host จากนั้นมา Click ที่บันได

3. ใช้คำสั่ง Split Element ที่ Modify | Railing>Edit Path Tab > Modify > Split Element ตัดเส้น Path ของบันไดในจุดที่มีการเปลี่ยน Slope ทุกจุด

4. กด Finish Edit Mode ที่ Modify | Railing>Edit Path Tab > Mode > Finish Edit Mode จะได้ผลลัพธ์ ดังรูป


Friday, November 11, 2011

การนำ Terrain จาก Google Earth เข้ามายัง Autodesk Revit [Part 2]

ต่อจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้นำ Terrain จาก Google Earth เข้าสู่ AutoCAD แล้ว Save ไว้เป็น DWG File ครั้งนี้ ผมขอนำเสนอวิธีการนำ Terrain จาก DWG File เข้ามาและสร้าง Toposurface ใน Revit ครับ

การนำ Terrain จาก DWG File เข้าสู่ Autodesk Revit (ขออนุญาตนับต่อจากครั้งที่แล้วนะครับ)

17. เปิด Autodesk Revit และ สร้าง File ใหม่ขึ้นมาครับ

18. เลือกคำสั่ง Import CAD ที่ Insert Tab > Import > Import CAD

19. ที่ Import CAD Formats เลือกไฟล์ Terrain ที่เราสร้างขึ้น
20. ที่ Colors เลือก Preserve
โปรดสังเกต ให้ Uncheck ที่ช่อง Current view only
21. กดปุ่ม Open

22. ผลลัพธ์ที่ได้ ดังภาพ

23. เลือกคำสั่ง Toposurface จาก Massing & Site Tab > Site Model > Toposurface

24. สร้าง Toposurface จาก DWG File ที่ Import มาจาก Modify | Edit Surface > Tools > Create from Import > Select Import Instance


25. เลือกที่ Terrain ที่ Import เข้ามา

26. ที่ Add Points from Selected Layers เลือก Check เฉพาะ Layer ของ Terrain (ในที่นี้ผมใช้ Layer 0)
27. กดปุ่ม OK


28. จากนั้นกดปุ่ม Finish Surface ที่ Modify | Edit Surface > Surface > Finish Surface

29. ผลลัพธ์ที่ได้ ดังรูป

30. เปิด Site Plan View โดย Double Click ที่ Project Browser > Views (all) > Floor Plans > Site
31. เปลี่ยนมุมมองเป็น Wireframe ที่ View Control > Visual Style > Wireframe เพื่อให้สามารถมองเห็นเส้นแบ่งส่วนพื้นน้ำและพื้นดิน


32. เลือกคำสั่ง Split Surface ที่ Massing & Site > Modify Site > Split Surface


33. Click ที่ Toposurface ที่เราสร้างไว้
34. เลือกคำสั่ง Pick Line ที่ Modify | Split Surface > Draw > Pick Line

35. นำ Cursor มาวางที่เส้น Polyline ที่เราสร้างไว้สำหรับแบ่งแยกส่วนที่เป็นพื้นน้ำกับพื้นดิน จากนั้น กด Tab (ที่ Keyboard) จนขึ้น Hi-light ทั้งเส้น Click เพื่อสร้างเส้น Sketch (เส้นสีชมพู) ตามเส้นแบ่งพื้นน้ำกับพื้นดิน ดังรูป

36. กด Finish ที่ Modify | Split Surface > Mode > Finish
37. เลือก Terrain ที่เรา Import เข้ามา แล้วกด Delete ที่ Keyboard
38. เลือก Toposurface ที่เป็นส่วนพื้นน้ำ
39. ที่ Properties > Materials and Finishing > Materials กดปุ่ม (…) ที่อยู่ท้ายช่อง by Category
40. ที่ Materials > Materials > เลือก Site – Water เพื่อกำหนด Material พื้นน้ำ ให้แก่ Toposurface
41. กดปุ่ม OK


42. เปิด 3D Default View เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์


การนำ Terrain จาก Google Earth เข้ามายัง Autodesk Revit [Part 1]

สวัสดีครับ ในวันเลขสวย 11.11.11 นะครับ และสวัสดีย้อนหลังสำหรับวันลอยกระทงที่ผ่านไปเมื่อคืนครับผม

จากครั้งที่แล้วผมได้นำเสนอ การหาทิศทางไหลของน้ำใน Site แล้ว ครั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลของเราใกล้เคียงความจริงมากขึ้น เผื่อว่าใครจะนำไปหาทิศทางน้ำไหลแถวบ้านนะครับ ^^ จึงขอนำเสนอวิธีการนำ Terrain จาก Google Earth เข้ามาใช้งานใน Autodesk Revit

จากเนื้อหาทั้งหมด ผมต้องขอแบ่งออกเป็น 2 Parts ดังนี้ครับ

Part 1: การ Download ติดตั้ง Plug-in และการนำ Terrain จาก Google Earth เข้าสู่ AutoCAD

Part 2: การนำ Terrain จาก AutoCAD มาสร้าง Toposurface ใน Revit

การ Download Plug-in: Google Earth Extension for AutoCAD และติดตั้ง

1. Download Plug-in จาก Autodesk Labs (เราต้องสมัคร Account ของ Autodesk ก่อนนะครับ)

2. ในไฟล์ที่ Download มาจะมี Plug-in หลาย Version ให้เลือก Version เหมาะสมกับ AutoCAD ที่ใช้อยู่ (ในที่นี้ผมใช้ 2012 ครับ)

3. ดำเนินการติดตั้ง Plug-in

4. เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก็เปิด AutoCAD ขึ้นมา เราจะพบแถบเครื่องมือ Google Earth Extension

การนำ Terrain จาก Google Earth เข้าสู่ AutoCAD

5. เลือกคำสั่ง ImportGEMesh จาก Google Earth Extension

6. ที่ Google Earth Import กำหนดพิกัดที่ต้องการให้ช่อง Search
7. Zoom เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ต้องการ
8. กดปุ่ม Capture the Terrain เพื่อยืนยันพิกัด


9. ที่ Command line กำหนดพิกัด Specify insertion point ที่ 0,0
10. ที่ Command line กำหนด Specify rotation angle ที่ 0

11. จะได้ Terrain ดังรูป

12. เปลี่ยน Visual Styles เป็น Realistic ที่ View Tab > Visual Styles > Realistic (ใช้ 3D Model Workspace นะครับ)

13. ผลลัพธ์ที่ได้ ดังรูป

14. จากนั้นเราจะใช้ Polyline สร้างเส้นแบ่งส่วนที่เป็นพื้นทะเลและพื้นดินออก โดยสร้าง Layer แยกจาก Terrain นะครับ
15. เมื่อเปลี่ยน Visual Style กลับไปเป็น Wireframe จะได้ผลลัพธ์ ดังนี้

16. Save เป็น DWG File เก็บไว้เพื่อนำมาใช้ต่อใน Part 2 ครั้งต่อไปครับ ^^