Friday, December 23, 2011

การใช้คำสั่ง Transfer Project Standards

เป็นคำตอบของคำถามหนึ่งที่ถามไว้ใน ThaiBIM ครับ เลยหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังครับ ^^

ใน Autodesk Revit เราสามารถนำ Family Type หรือค่ามาตราฐานต่าง ๆ จากไฟล์หนึ่งมาใช้ในอีกไฟล์หนึ่งได้ เช่น การนำ Wall Type ที่สร้างขึ้นใน Project ก่อนหน้านี้ นำมาใช้ใน Project ที่ทำอยู่ปัจจุบันเป็นต้น โดยการใช้คำสั่ง Transfer Project Standards ดังนี้

 1. เปิดไฟล์ที่ต้องการจะ Transfer Standards ขึ้นมาคู่กัน และเลือกทำงานที่ไฟล์ปัจจุบัน (Project 2)


 2. เลือกคำสั่ง Transfer Project Standards ที่ Manage Tab > Settings > Transfer Project Standards


 3. เลือกไฟล์ต้นฉบับที่ต้องการ Transfer Standard ที่ Select Item To Copy > Copy from: (ในที่นี้ คือ Project1.rvt)


 4. เลือกประเภทของ Object ที่ต้องการ Transfer โดยเลือก Check ที่ Select Items To Copy (ในที่นี้ คือ Wall Type)

 5. เมื่อเลือกเสร็จแล้ว กด OK เพื่อยืนยังคำสั่ง



 6. อาจจะมีการแจ้งเตือนในกรณีที่มี Object ชื่อของ Type ซ้ำกับ แต่ Property ไม่เหมือนกัน
     - หากต้องการให้ Copy Type ไฟล์เก่า ให้เลือก Overwrite
     - หากต้องการให้ Copy เฉพาะ Type ที่ไม่ซ้ำกัน ให้เลือก New Only


 7. ผลลัพธ์ที่ได้ Type ที่เราสร้างขึ้นใหม่ (Generic - 200 - New Type 1-4) ใน Project1 ก็จะเข้ามาใน Project2 เรียบร้อยครับ


เท่านี้เราก็สามารถใช้ Family ไหนก็ได้ด้วยวิธีนี้ครับ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างครับ

ปล. หรือมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือ เลือก Object ที่ต้องการ จากนั้น Copy to Clipboard (Crtl+C) แล้วมา Paste ลงอีกไฟล์หนึ่ง เราก็สามารถได้ Type ของ Object ที่ต้องการติดมาด้วยเช่นกัน (สะดวกกว่า กรณีที่ต้องการ Object ไม่กี่อย่างครับ)

Friday, December 16, 2011

การหมุน Plan ด้วยคำสั่ง Rotate True North

ยังคงวนเวียนในเรื่องของ Site นะครับ ^^

ปกติเวลาทำงานหรือเขียนแบบแปลน เราจะวางอาคารขนานกับแนวแกน ซึ่งใน Autodesk Revit เรียกเป็นทิศเหนือโครงการ (Project North) แต่ใน Site Plan เราจะแสดงขนาดกับทิศหรือทิศหรือจริง (True North) โดยในแต่ละ View เราสามารถเลือกตั้ง Orientation แต่ละแบบได้ครับ  

 1.      เริ่มจากเปิด Site Plan ขึ้นมา โดย Double Click ที่ Project Browser > View (All) > Floor Plan > Site
 2.      เราจะกำหนดให้รูปแบบการวางตัวของ Site ที่แสดงอยู่ปัจจุบัน เป็นการแนวขนานกับอาคาร


  3.      กำหนดให้ Site Plan แสดง Orientation แบบ True North ที่ Properties > Orientation เลือก True North


 4.      เลือกคำสั่ง Rotate True North ที่ Manage Tab > Project Location > Position > Rotate True North


 5.      เราจะหมดทิศ โดยอ้างอิงจากลูกศรทิศเหนือในแบบ AutoCAD ครับ
a.      เลือกคำสั่ง Place ที่ Option bar > place
b.      กำหนดจุดศูนย์กลางการหมุน
c.       กำหนดจุดอ้างอิง
จากนั้นหมุนทิศเหนือให้ชี้ขึ้นครับ



 6.      ผลลัพทธ์ดังรูป



 7.      เมื่อเราเปิด Level 1 เปรียบเทียบจะได้ดังรูปครับ



ซึ่งเมื่อเรากำหนดแล้ว เราสามารถเปลี่ยนค่า Orientation กลับไปกลับมา ระหว่าง Project North และ True North ได้ในแต่ละ View ได้ที่  Properties > Orientation ครับ 

Tuesday, December 13, 2011

การ Import Site จาก DWG File

คำสั่งพื้นฐานคำสั่งหนึ่งใน Revit คือ การ Import CAD ครับ ซึ่งส่วนตัวแล้วได้ใช้เกือบทุกโครงการที่ทำ การนำ DWG File เข้ามาใน Revit มีอยู่ด้วยกันสองวิธีครับ


- Import CAD เป็นการนำ DWG File เข้ามาใน Revit โดยที่ไม่เชื่อมโยงกับไฟล์เดิม (ซึ่งเป็นวิธีที่จะใช้ใน Tutorial นี้ครับ)
- Link CAD เป็นการนำ DWG File เข้ามาใน Revit โดยที่ยังคงเชื่อมโยงกับไฟล์เดิม คือ สามารถ Update ตามไฟล์ต้นฉบับได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง (เหมือน X-REF ใน AutoCAD)

ครั้งนี้อนุญาตยกตัวอย่างการนำ CAD File เพื่อมาเตรียมสร้าง Site ใน Revit ต่อไปครับ

 1.      Import Site เข้ามาใน Revit โดยเลือกที่ Insert Tab > Import > Import CAD
 2.      เลือกไฟล์ที่ต้องการ Import
 3.      ที่ Import CAD Format > Colors: เลือก Preserve (เพื่อให้สีข้อเส้นที่นำมาตรงกับสีของเส้นใน AutoCAD)
 4.      ที่ Import CAD Format > Import units: เลือก millimeter (หรือให้ตรงกับ Unit ทีเขียนใน AutoCAD)
 5.      Uncheck ที่ Import CAD Format > Current view only เพื่อให้ Site ที่ Import เข้ามาสามารถมองเห็นได้ใน 3D View (หาก Check อยู่ CAD ที่เรา Import จะมองเห็นเฉพาะ View ที่เราทำงานอยู่ครับ)
 6.      กด Open


 7.      เปิด Site Plan ขึ้นมา โดย Double Click ที่ Project Browser > View (All) > Floor Plan > Site
 8.      จัดตำแหน่ง Site และสัญลักษณ์ รูปด้านให้เหมาะสม ดังรูป


 9.      ผลลัพธ์ที่ได้


ครั้งตอนไปเราจะมาหมุน Site เพื่อสร้าง Site Plan ด้วยคำสั่ง Rotate True North ครับ

Thursday, December 8, 2011

เราจะหา Revit Contents (Families) ได้จากที่ไหน ???

วันนี้มีคำตอบของคำถามที่เจออยู่บ่อยครับ ว่า "จะหา Families เพิ่มได้จากที่ไหน" "มีโซฟาแบบนี้มั้ย"


เพราะทาง Arch+Tech ได้รวบรวม Link ต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าไป Download Families หรือ Contents ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Revit ไว้ในบทความ BIM Content for Revit เลยเอามาแชร์ แบ่งปันกันครับ ^^


ขอบคุณ The Revit Kid สำหรับการแบ่งปันข้อมูลดี ๆ ครับ


ปล. ขออภัยที่ห่างหายไปจากการ Update Tutorial ซักพัก เนื่องจาก Notebook ไม่อยู่ครับ ^^"

Wednesday, November 30, 2011

การวางแปหลังคาด้วย Beam System

ขอหยิบยกการวางแปในโครงสร้างหลังคาใน ซึ่งเป็นคำถามใน ThaiBIM มาแบ่งปันกันครับ ^^

1. เตรียมพื้นที่ที่จะวางแป

2. เลือกคำสั่ง Beam System ที่ Structure Tab > Structure > Beam System

3. เลือกชนิดและขนาดของแปที่ต้องการ ที่ Properties > Pattern > Beam Type (หากไม่มีให้ Load จาก Library ที่ Structural > Framing)

4. กำหนดระยะห่างระหว่างแปเป็น 600 มิลลิเมตร (หรือค่าที่ต้องการ) ที่ Properties > Pattern > Fixed Spacing

5. กำหนดระนาบที่ต้องการวางแป โดยเลือกคำสั่ง Set Work Plane ที่ Modify|Create Beam System Boundary Tab > Work Plane > Set

6. ที่ Work Plane > Specify a new Work Plane > เลือก Pick a plane จากนั้นกด OK

7. จากนั้น Click บนระนาบที่ต้องการ ดังรูป

8. วาด Profile เพื่อกำหนดขอบเขตที่ต้องการวางแป

9. ทิศทางของการวางแป จะถูกกำหนดโดยเส้นที่มีเส้นสั้น ๆ สองเส้นขนาบอยู่ หากต้องการเปลี่ยนให้เลือกที่คำสั่ง Beam Direction ที่ Modify|Structural Beam System>Edit Boundary Tab > Draw > Beam Direction > Pick Line

10. เลือกเส้นที่ต้องการให้เป็นตัวกำหนดทิศทางของแป
11. กด Finish Edit Mode ที่ Modify|Structural Beam System>Edit Boundary Tab > Mode > Finish Edit Mode

12. หากแปจมลงไปในระนาบ ให้ยกขึ้นโดยกำหนดค่าที่ Properties > Constraints > z-Direction of Value ให้มีค่าที่กับความลึกของแป (ในที่นี้เป็น 140)

13. ผลลัพธ์ที่ได้

14. เมื่อทำครบสองด้าน จะได้ผลดังรูป

Monday, November 28, 2011

Autodesk University 2011


งานสัมมนา Autodesk University 2011 (AU) กำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว

งาน Autodesk University เป็นงานสัมมนาที่ทาง Autodesk จัดขึ้นทุกปี เพื่อให้ นักออกแบบ วิศวกรและสถาปนิก ได้มา Update ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Technology แลกเปลี่ยนประสบการณ์การประกอบวิชาชีพ รวมถึงกลยุทธใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีวิทยากรจากสาขาอาชีพต่าง ๆ รวมถึงผู้เชียวชาญจากทาง Autodesk มารวมบรรยาย

สำหรับงาน AU2011 ในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน (พรุ่งนี้) ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2011 ที่ The Venetian Hotel: Las Vegas

สำหรับคนที่ไม่สามารถเดินทางไปร่วมได้ สามารถเข้าร่วมได้ผ่านทาง Autodesk University Visual 2011 (AU Visual 2011) ได้ โดย Register ที่เวปของ Autodesk University


ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าร่วม Class ต่าง ๆ ของ AU2011 ได้บางส่วน (ประมาณ 200 จาก 650 Classes) ร่วมส่งคำถามไปยังวิทยากรได้ (แต่คงต้องเป็นภาษาอังกฤษนะครับ) และดู Online Exhibition ของผู้สนับสนุนต่าง ๆ ในงานได้ครับ

Wednesday, November 23, 2011

AutoCAD Quick Send To 3ds Max Now Available


Autodesk Labs ออก add-in AutoCAD Quick Send to 3ds Max ซึ่งช่วยให้เราสามารถส่งชิ้นงานที่เราสร้างใน AutoCAD ไปยัง 3ds Max หรือ 3ds Max Design ได้โดยตรง

Monday, November 21, 2011

การนำ 3D Model มาช่วยอธิบาย 2D Drawing

เป็น Tips เล็ก ๆ แต่มีประโยชน์มากครับ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนอาจจะทราบแล้ว แต่นำมาบอกกล่าวสำหรับคนที่ยังไม่ทราบละกันครับ

ใน 3D Software ต่าง ๆ ของ Autodesk เรามักจะเห็น กล่องสี่เหลี่ยมสีเทา ๆ ลอยอยู่มุมขวาบนของจอ (เป็นส่วนใหญ่) ซึ่งเรียกว่า ViewCube ใช้สำหรับ หมุน 3D ไปยังมุมต่าง ๆ ตามด้านของกล่อง เช่น Top, Front, Right เป็นต้น
สำหรับ Revit เราสามารถใช้ View Cube ช่วยในการตัด 3D Model ให้เป็นไปตาม 2D View ต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Plan, Section หรือ Detail ได้อย่างรวดเร็ว



1. เปิด 3D View ขึ้นมา ที่ View Tab > Create > Default 3D View

2. Right Click ที่ View Cube
3. เลือก Orient to Veiw > Floor Plans > Floor Plan: Level 1 (กรณีที่ต้องการให้ 3D แสดง Plan ชั้น 1)
4. ผลลัพธ์ที่ได้ ดังรูป
ตัวอย่าง ในการใช้งาน Function นี้กับ View อื่น ๆ

Section

Detail


Saturday, November 12, 2011

การแก้จุดต่อข้อหักของราวบันได

อีกปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับ Railing คือ ในส่วนที่มีการหักของบันไดมักจะหายไปหรือไม่ต่อเนื่อง ดังรูป

วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ให้เพิ่มระยะให้กับหักของ Railing ดังนี้ครับ

1. เลือกราวบันไดที่ต้องการแก้ไข จากนั้นเลือกคำสั่ง Edit Path ที่ Modify | Railings Tab > Mode > Edit Path
2. เพิ่มระยะหักให้กับบันได ดังรูป


3. กด Finish Edit Mode ที่ Modify | Railing>Edit Path Tab > Mode > Finish Edit Mode จะได้ผลลัพธ์ ดังรูป

หรือไม่ก็คงต้องเขียนข้อต่อขึ้ันมาใหม่ ด้วยการสร้าง Family หรือ Model In-Place ครับ

การสร้าง Railing ให้มี Slope ตามบันได

ปัญหาเล็ก ๆ ที่ถามกันบ่อยครับ เมื่อต้องการสร้าง Railing เพื่อใช้เป็นราวกันตก แต่ Railing ไม่ Slope ไปตาม Slope ของบันได ดังรูป

เราต้องเลือกให้บันได เป็น Host ของ Railing โดย

1. เลือกราวบันไดที่ต้องการแก้ไข จากนั้นเลือกคำสั่ง Edit Path ที่ Modify | Railings Tab > Mode > Edit Path

2. เลือกคำสั่ง Pick New Host ที่ Modify | Railing>Edit Path Tab > Tools > Pick New Host จากนั้นมา Click ที่บันได

3. ใช้คำสั่ง Split Element ที่ Modify | Railing>Edit Path Tab > Modify > Split Element ตัดเส้น Path ของบันไดในจุดที่มีการเปลี่ยน Slope ทุกจุด

4. กด Finish Edit Mode ที่ Modify | Railing>Edit Path Tab > Mode > Finish Edit Mode จะได้ผลลัพธ์ ดังรูป


Friday, November 11, 2011

การนำ Terrain จาก Google Earth เข้ามายัง Autodesk Revit [Part 2]

ต่อจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้นำ Terrain จาก Google Earth เข้าสู่ AutoCAD แล้ว Save ไว้เป็น DWG File ครั้งนี้ ผมขอนำเสนอวิธีการนำ Terrain จาก DWG File เข้ามาและสร้าง Toposurface ใน Revit ครับ

การนำ Terrain จาก DWG File เข้าสู่ Autodesk Revit (ขออนุญาตนับต่อจากครั้งที่แล้วนะครับ)

17. เปิด Autodesk Revit และ สร้าง File ใหม่ขึ้นมาครับ

18. เลือกคำสั่ง Import CAD ที่ Insert Tab > Import > Import CAD

19. ที่ Import CAD Formats เลือกไฟล์ Terrain ที่เราสร้างขึ้น
20. ที่ Colors เลือก Preserve
โปรดสังเกต ให้ Uncheck ที่ช่อง Current view only
21. กดปุ่ม Open

22. ผลลัพธ์ที่ได้ ดังภาพ

23. เลือกคำสั่ง Toposurface จาก Massing & Site Tab > Site Model > Toposurface

24. สร้าง Toposurface จาก DWG File ที่ Import มาจาก Modify | Edit Surface > Tools > Create from Import > Select Import Instance


25. เลือกที่ Terrain ที่ Import เข้ามา

26. ที่ Add Points from Selected Layers เลือก Check เฉพาะ Layer ของ Terrain (ในที่นี้ผมใช้ Layer 0)
27. กดปุ่ม OK


28. จากนั้นกดปุ่ม Finish Surface ที่ Modify | Edit Surface > Surface > Finish Surface

29. ผลลัพธ์ที่ได้ ดังรูป

30. เปิด Site Plan View โดย Double Click ที่ Project Browser > Views (all) > Floor Plans > Site
31. เปลี่ยนมุมมองเป็น Wireframe ที่ View Control > Visual Style > Wireframe เพื่อให้สามารถมองเห็นเส้นแบ่งส่วนพื้นน้ำและพื้นดิน


32. เลือกคำสั่ง Split Surface ที่ Massing & Site > Modify Site > Split Surface


33. Click ที่ Toposurface ที่เราสร้างไว้
34. เลือกคำสั่ง Pick Line ที่ Modify | Split Surface > Draw > Pick Line

35. นำ Cursor มาวางที่เส้น Polyline ที่เราสร้างไว้สำหรับแบ่งแยกส่วนที่เป็นพื้นน้ำกับพื้นดิน จากนั้น กด Tab (ที่ Keyboard) จนขึ้น Hi-light ทั้งเส้น Click เพื่อสร้างเส้น Sketch (เส้นสีชมพู) ตามเส้นแบ่งพื้นน้ำกับพื้นดิน ดังรูป

36. กด Finish ที่ Modify | Split Surface > Mode > Finish
37. เลือก Terrain ที่เรา Import เข้ามา แล้วกด Delete ที่ Keyboard
38. เลือก Toposurface ที่เป็นส่วนพื้นน้ำ
39. ที่ Properties > Materials and Finishing > Materials กดปุ่ม (…) ที่อยู่ท้ายช่อง by Category
40. ที่ Materials > Materials > เลือก Site – Water เพื่อกำหนด Material พื้นน้ำ ให้แก่ Toposurface
41. กดปุ่ม OK


42. เปิด 3D Default View เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์