Saturday, December 21, 2013

Section Graphics of Toposurface

ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยเวลาตัด Section ที่มี Toposurface ด้วย คือ ส่วนของ Cut Patter จะหายไปก่อนที่จะถึงระดับที่ต้องการแสดง ดังรูป


   a.   Cut Pattern หยุดก่อนถึงระดับตำสุดที่ตัด
   b.   มองเห็นจุดตำสุดของ Toposurface ซึ่งตัดไปไม่ถึง

วิธีแก้ไข ดังนี้
   1.   ที่ Massing & Site Tab > Model Site > Site Setting (ลูกศรที่มุมล่างขวาของ Panel)


   2.   ที่ Site Setting > Section Graphics > Elevation of poche base: กำหนดค่าให้น้อยกว่าหรือเท่ากับจุดตำสุดของ Toposurface


   3.   ผลลัพธ์ที่ได้

Thursday, October 31, 2013

Annotation ที่หายไปเวลา Export หรือ Print

ก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึง Section ที่หายตอนเปลี่ยนScale แล้ว ครั้งนี้เรามาตามหา สัญลักษณ์ที่หายไประหว่าง Export หรือ Print กันบ้างครับ


จากรูปจะเห็นว่า เมื่อเรา Export จาก Revit เป็น CAD สัญลักษณ์ที่ยังไม่มีการนำ View ของสัญลักษณ์ นั้น ๆ ลงไปใน Sheet จะหายไป จาก DWG file ที่เรา Export ออกมาครับ (Section ทางขวา และ Elevation ทั้งสี่ด้าน)

ซึ่งวิธีการแก้ไขทำได้ดังนี้ครับ

1. ที่ Application Manu (R) > Export > Options > Export Setups DWG/DXF


2. ที่  Modify DWG/DXF Export Setup > General > ยกเลิก Hide unreferenced view tags


3. หากลอง Export ใหม่ ก็จะได้สัญลักษณ์ครบครับ

หรือการ Print หากต้องการแสดงสัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้นำ View ลง Sheet ก็ให้ตั้งค่า ดังนี้
1. ที่ Application Manu (R) > Print > Print Setup


2. ที่ Print Setup > Options > ยกเลิก Hide unreferenced view tags


Sunday, September 29, 2013

เก็บตก Autodesk AEC Conference 2013 (จำเป็นหรือเปล่า ที่ต้องใช้ BIM ?)


วันที่ 26 กันยาที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปบรรยาย ที่งาน Autodesk AEC Conference 2013 Thailand รู้สึกตื่นเต้น และประทับใจมากครับ กับการพูดบนเวทีใหญ่ครั้งแรกในชีวิต ขอบคุณ Autodesk และ Comgraph ที่ให้โอกาส ขอบคุณทุกคำติ-ชม ขอน้อมรับและจะปรับปรุงในโอกาสต่อไป (ถ้ามีครับ)

ด้วยความตื่นเต้น (และเวลาอันจำกัด) ทำให้ลืมพูดถึงอีกมุมมองหนึ่งที่อยากจะแชร์ กับคำถามที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่าถึงเวลาหรือจำเป็นหรือเปล่า ที่เราต้องใช้ BIM” ซึ่งหากถามผม ผมขอตอบว่า "ก็อาจจะไม่จำเป็น" หากยังตอบโจทย์ไม่ได้ว่า ท่านต้องการอะไรจาก BIM”

BIM หรือ Building Information Model ก็เป็นหนึ่งใน Information Technology (IT) ที่ทุกครั้งที่เราจะนำ Technology ใดมาใช้ น่าจะถามตัวเองก่อนครับว่า "เราต้องการอะไรจาก Technology นั้น" เช่น หากเราต้องการเปลี่ยนมือถือจาก Feature Phone เป็น Smart Phone คงไม่มีใครตอบแทนตัวผู้ใช้ได้ ว่าถึงเวลาหรือยัง ควรหรือต้องเปลี่ยนหรือเปล่า หากผู้ใช้บอกว่า ไม่ได้จำเป็นต้องรับส่ง Email ไม่ได้ต้องการใช้ Application ไม่เล่นเกมส์ ไม่ใช้ Social Network การใช้ Feature Phone ก็ยังตอบสนองการใช้งานของท่านได้อยู่ ก็แทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่หากคำตอบไม่เป็นเช่นนั้น หรือแม้แต่ความต้องการ คือ ภาพลักษณ์ที่ทันสมัย การทดลองใช้ Smart Phone ก็อาจจะเป็นคำตอบขึ้นมา

แต่สำหรับ BIM หากจะหวังผลเฉพาะภาพลักษณ์ สำหรับบางบริษัทอาจจะไม่คุ้มค่าในด้านการลงทุนครับ แม้ว่าการเปลี่ยนจาก 2D เป็น 3D ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ได้รับ คือ การลดความผิดพลาดจากการทำแบบอยู่แล้ว แต่แนะนำให้ลองหาประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน Information ใน BIM มากำหนดเป็นเป้าหมายในการปรับใช้ด้วย เช่น เรื่องการคำนวณพลังงาน การประมาณราคา การหา Clash เป็นต้น

การคัดเลือก BIM Team แนะนำให้ลองหาคนที่รู้สึก พร้อมและสนุกที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะเชื่อว่าคนเหล่านั้นจะทำงานให้ท่านได้เกินวันละ 8 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ หากเป็นเรื่องที่เขาสนใจและสนุกแล้ว เวลาที่เขาพร้อมจะทุ่มเทและเรียนรู้จะเป็น 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์

หวังว่ามุมมองนี้ จะเป็นประโยชน์หรือแนวทางให้คน ทีม หรือบริษัทที่สนใจและวางแผนใช้ BIM ครับ

Sunday, September 15, 2013

ปัญหาในการสร้าง Monolithic Stair ที่ Floor to Floor 4800 mm

ปัญหาที่พบเจอโดยบังเอิญระหว่างสอน Revit คือ เราไม่สามารถสร้าง Monolithic Stair ที่ระยะห่างระหว่าง Base Level และ Top Level เท่ากับ 4800 mm ได้ครับ (ทดสอบกับ Revit 2013 และ 2014 โดยใช้ Stair by Component)



โดยหากตั้งระยะห่างที่ 4800mm และสร้าง Monolithic Stair จะได้ผลลัพธ์ดังนี้


 วิธีแก้ไขเบื้องต้น คือ ให้ปรับความหนาของ Monolithic Stair เป็นค่าอื่นที่ไม่ใช่ 150mm ซึ่งเป็นค่า default ดังนี้

1.   เลือก Stair และเลือก Type เป็น Monolithic Stair
      ที่ Type Properties > Run Type


2.   แก้ไขค่า Structure Depth เป็นค่าอื่นที่ไม่ใช่ 150mm (แนะนำให้ Duplicate Type ก่อนแก้ไข)


ผมได้แจ้งปัญหานี้ไปทาง Autodesk แล้ว ซึ่งทาง Autodesk แจ้งว่าได้ส่งประเด็นนี้ไปยังฝ่าย Developer เพื่อทำการแก้ไขแล้ว แต่คงต้องรอ Update Release หรือไม่ก็ Version ถัดไปครับ (-.-“)

Tuesday, August 6, 2013

การสร้าง Slab Edge บนพื้น Slope




ใน Revit พื้น (Floor) ที่ทำ Slope ไว้ก่อนแล้วเราจะไม่สามารถเพิ่ม Slab Edge ได้ ดังนั้นจึงต้องวาง Slab Edge ก่อนถึงปรับพื้นให้มี Slope ดังนี้

1.       สร้างพื้น

2.       วาง Slap Edge
2.1.    เลือกคำสั่ง Slab Edge ที่ Architectural Tab > Build > Floor > Slab Edge

2.2.    วาง Slab Edge ที่ขอบพื้น และ จัดตำแหน่ง
3.       กำหนด Slope ด้วย Slope Arrow
3.1.    เลือกพื้น และใช้คำสั่ง Edit Boundary ที่ Modify Tab > Mode > Edit Boundary

3.2.    เลือกคำสั่ง Slope Arrow ที่ Modify Tab > Draw > Slope Arrow

3.3.    กำหนด Slope Arrow ขึ้นบนพื้น พร้อมทั้งระบุตำแหน่ง หรือ Slope ที่ต้องการ

3.4.    กด Finish ที่ Modify Tab > Mode > Finish
4.       ผลลัพธ์ (สัญลักษณ์ เพิ่มต่างหากด้วย Spot Slope ครับ)

หมายเหตุ แม้เราสามารถสร้างพื้น Slope ได้ด้วยชุดคำสั่งใน Modify > Shape Editing แต่ผลลัพธ์ที่ได้ Slap Edge จะไม่ปรับตาม Slope ที่ทำขึ้น

Tuesday, June 4, 2013

การสร้าง Line Pattern กับ Text


กลับมาอีกครั้งกับ Tutorial ครับ เมื่อไม่นานมานี้ ได้รับคำถามว่า เราสามารถสร้าง Line Pattern ที่มี Text ผสมได้หรือเปล่า (--s--s--s--) พบว่าทำได้ครับ แต่ต้องสร้างจาก Detail Component โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การสร้าง Text Symbol และการสร้าง Detail Item แบบ Line Based ดังนี้ครับ

การสร้าง Text Symbol
1.       ที่ Application Manu (R) > New > Family
2.       เลือก Metric Generic Annotation.rft จาก Library > Annotations


3.       ลบข้อความที่ปรากฏอยู่บน Workspace
4.       ที่ Create Tab > Properties > เลือก Family Types


5.       ที่ Family Types > Parameters > เลือก Add…


6.       ที่ Parameter Properties > Parameter Data ตั้งค่าดังนี้


7.       กด OK ทั้งที่ Parameter Properties และ Family Types
8.       ที่ Create Tab > Text > เลือก Label


9.       ที่ Modify|Place Label Tab > Format > เลือก Align Center และ Center Middle


10.       Click ที่บริเวณ จุดตัดของ Reference Plane บน Workspace
11.       ที่ Edit Label เลือก Add Parameter(s) to Label (ลูกศรสีเขียว)
12.       กด OK


13.       ผลลัพธ์ที่ได้
14.      จากนั้น ทำการ Save File นี้เก็บไว้
.

การสร้าง Detail Item แบบ Line based
15.       ที่ Application Manu (R) > New > Family
16.       เลือก Metric Detail Item line based.rft จาก Library > Annotations


17.       บน Workspace ประกอบด้วย 3 Reference Planes (เส้นประสีเขียว) และ 1 Reference Line (เส้นสีเขียว)


18.       ที่ Create Tab > Detail > เลือก Line


19.       บน Workspace ลากเส้นทับ Reference Line (เส้นสีเขียว)


20.       ใช้คำสั่ง Align ที่    Modify Tab > Modify > Align แล้ว Lock Line ที่วาดขึ้นเข้ากับ Reference Planes ทั้ง 3 จุด คือ ตัวเส้น และปลายทั้งสองด้าน ดังรูป


21.       ที่ Create > Detail > เลือก Symbol


22.       Load File ที่ทำในขั้นตอนที่แล้วเข้ามา
23.       นำ Family ที่ Load เข้ามาและวางลงบน Line ที่เขียนไว้ ดังรูป


24.       เลือก Symbol ที่สร้างขึ้น ที่ Properties > กด Edit Type
25.       ที่ Type Properties > Text > Text กำหนดค่า “S”


26.       กำหนดให้สามารถแก้ไข Text ใน Symbol ได้ โดยกดปุ่ม สี่เหลี่ยม ท้าย Type Properties > Text > Text
27.       ที่ Associate Family Parameter > เลือก <none>  จากนั้นกด Add Parameter…
28.       ที่ Parameter Properties > Parameter Data > Name > ตั้งชื่อว่า Text
29.       กด OK


30.       เลือกคำสั่ง Array ที่ Modify|Generic Annotations > Modify > Array
31.       ที่ Option bar > Move To กำหนดเป็น Last
32.       ที่ Workspace > Click เพื่อวางตำแหน่งการ Array


33.       กำหนด Dimension ที่ Symbol และ Reference Plane ทั้งสองด้าน ดังรูป


34.       ที่ Create Tab > Properties > เลือก Family Types
35.       ที่ Family Types > Parameters > เลือก Add…
36.       ให้สร้าง Parameter ชื่อ Offset และ Spacing ขึ้นมาจาก Parameter Properties โดยตั้งค่าดังนี้

              โดยค่า    Spacing กำหนดให้เป็นระยะห่างระหว่างตัวอักษร
          Offset     กำหนดให้เป็นค่าระยะห่างระหว่าง Symbol กับปลายเส้น
37.       กำหนดค่าให้แก่ Parameter ทั้ง 2 ตัว ประมาณ 200-300 มม.


38.       กด OK.
39.       เลือก Dimension ที่สร้างไว้ในข้อ (33.)
40.       ที่ Option bar > Label > เลือก Offset = 200


41.       เลือก Symbol ที่สร้างขึ้น จากนั้นเลือก Array Dimension ที่ปรากฏขึ้น
42.       ที่ Option bar > Label > เลือก <Add Parameter…>


43.       สร้าง Parameter ชื่อ No. ขึ้น เพื่อกำหนดจำนวน Symbol ที่ปรากฏขึ้นใน Line ดังนี้ (กำหนดเป็น Instance)


44.       ที่ Create Tab > Properties > เลือก Family Types
45.       ที่ Family Types > Other > No.(default) ที่ช่อง Formula > พิมพ์ “Length/Spacing” เพื่อกำหนดให้จำนวน Symbol เท่ากับ ความยาวของเส้น หารด้วย ระยะห่างระหว่าง Symbol


46.       กด Ok.
47.       ผลลัพธ์ที่ได้ (ก่อน Load ไปใช้ ให้เปลี่ยนค่า Length, Offset และ Spacing ให้สูง เพื่อทดสอบและป้องกัน Error เวลาใช้งาน)


เมื่อ Load ไปใช้ใน Project ให้เรียกใช้ด้วยคำสั่ง Detail Component จะได้ผลลัพธ์ดังนี้