Friday, January 16, 2015

BIM: New Tool New Process.


ความเข้าใจเกี่ยวกับ BIM (Building Information Modeling) ของคนส่วนใหญ่ เป็นเพียงการเปลี่ยน Software หรือ Tool ซึ่งต่างจากหลายบทความที่มีเนื้อหาในทำนองเดียวกันว่า การใช้ BIM จำเป็นต้องเกิดการเปลี่ยนกระบวนการทำงานและดูเป็นเรื่องยุ่งยาก ลำพังแค่การเรียนหรือการฝึกใช้เครื่องมือก็ยากอยู่แล้ว หากต้องเปลี่ยนกระบวนการทำงานจะมีอะไรตามมาอีก แล้วจะสำเร็จหรือไม่ บทความนี้ต้องการเสนอมุมมองเปรียบเทียบว่า ความจริงแล้วการเปลี่ยนเครื่องมือ มักจะมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของเราอยู่แล้ว หากแต่ประเด็นสำคัญคือ เราควรทำความเข้าใจถึงประโยชน์ที่เราจะได้รับจากรูปแบบวิธีการใหม่ที่เกิดขึ้น และแสวงหาวิธีใช้เครื่องมือหรือกระบวนการทำงานที่เหมาะสมที่สุด

สมมติว่า ช่างไม้คนหนึ่งมีความเชี่ยวชาญอย่างมากในการทำงานด้วย ค้อน กับ ตะปู วันหนึ่งมีคนเข้ามาเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีลักษณะคล้ายตะปู แต่มีเกลียวพันรอบ ผลิตภัณฑ์นี้เรียกว่า สกรู ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถยึดแผ่นไม้ได้ดีกว่าตะปู 5 ดอก ไม่มีปัญหาการบิดงอระหว่างทำงาน และรับแรงดึงได้อีกด้วย เมื่อช่างไม้ได้ยินดังนั้น ก็รู้สึกสนใจในผลิตภัณฑ์และนำมาทดลองใช้กับงานที่กำลังทำอยู่ โดยวางสกรูที่ผิวของไม้ และตอกลงไปด้วยค้อนคู่ใจอย่างเคย ผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่คิด ช่างไม้หันมาต่อว่าผู้แนะนำว่า นอกจากตอกยากแล้วยังทำให้ผิวหน้าของไม้เสียหายอีกด้วย ผู้แนะนำพยายามอธิบายว่าเครื่องมือนี้จำเป็นต้องใช้คู่กับอุปกรณ์อีกอย่างที่เรียกว่า ไขควงและต้องใช้วิธีการไขหรือหมุดลงไปในเนื้อไม้ไม่ใช่การตอกลงไปเหมือนตะปู นอกจากนั้นในกรณีที่เป็นไม้เนื้อแข็ง อาจจำเป็นต้องใช้สว่านเจาะนำอีกด้วย เมื่อช่างไม้ได้ยินดังนั้นจึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลาเรียนรู้เครื่องมืออีกมากมาย จึงหันกลับมาใช้ตะปูทำงานอย่างเดิม

จากกรณีตัวอย่างข้างต้น การตัดสินใจไม่เรียนรู้เครื่องมือใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด เพราะทั้งเครื่องมือและวิธีการแบบเดิมยังสามารถตอบสนองการทำงานของช่างไม้ได้อย่างเคย หากแต่ช่างไม้มองเห็นประโยชน์ในการใช้งาน สกรู ในเรื่องคุณภาพ ความเรียบร้อยและอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นของชิ้นงาน รวมถึงการใช้สกรูและอุปกรณ์ร่วมอย่างสว่าน สามารถใช้กับงานปูนหรืองานเหล็กได้ ซึ่งการใช้ค้อนกับตะปูไม่สามารถทำได้ ก็อาจทำให้ช่างไม้เกิดความสนใจ และยินดีที่จะเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแบบด้วยมือ การใช้ CAD (Computer Aided Design) หรือ BIM ต่างก็สามารถตอบสนองการทำแบบก่อสร้างได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการได้รับประโยชน์ใดจากการใช้เครื่องมือหรือกระบวนการทำงานนั้น ดังเช่นในอดีตที่เราเคยเปลี่ยนแปลงจากการเขียนแบบด้วยมือ มาเป็นการใช้ CAD เพราะเห็นประโยชน์ในการแก้ไขและลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และทุกท่านก็ทราบถึงกระบวนการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า CAD ก็เป็นกระบวนการทำงานแบบใหม่ในเวลานั้น เช่นเดียวกับ BIM หากมองเห็นถึงประโยชน์ในการประสานงาน ตรวจสอบ ความขัดแย้งของแบบ การถอดปริมาณวัสดุ การคำนวณพลังงาน หรือการบริหารจัดการอาคาร ฯลฯ ซึ่งกระบวนการเขียนแบบด้วยมือหรือ CAD ไม่สามารถตอบสนองได้ ดังนั้น การเลือกที่จะเรียนรู้กระบวนการและเครื่องมือใหม่อย่าง BIM จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับท่านที่ต้องการได้รับประโยชน์ในเรื่องดังกล่าว นอกเหนือจากการเขียนแบบเพียงอย่างเดียว

สรุปส่วนตัวคิดว่า การเปลี่ยนจาก CAD ไป BIM สามารถมองได้ทั้ง 2 มุม ทั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือแล้วมีผลต่อกระบวนการทำงาน หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานทำให้ต้องหาเครื่องมือที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามอยากเสนอให้ผู้ที่สนใจและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ศึกษาถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจาก BIM เป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาวิธีการใช้งานเครื่องมือและกระบวนการทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร ด้วยความเข้าใจธรรมชาติของ BIM  จะได้ไม่เป็นการใช้ค้อนตอกสกรูลงบนชิ้นงานครับ

ปล. บทความแรกหลังจากหายไปเกือบปี ^ ^
       ขอบคุณทีมงานจาก Facebook Page: Revit Thailand ที่ให้การบ้านมาขบคิดเขียนบทความนี้ขึ้นมา

Sunday, February 2, 2014

ปัญหาการ Print แบบ Combine PDF into a single file แล้วเกิด Loops


ปัญหาการ Print เป็น PDF File แล้วเลือก Combine multiple selected views/sheets into a single file. แล้วเกิด Loops คือ
          - เมื่อเราสั่ง Print
          - เลือก 10 views/sheets จาก Selected views/sheets
          - แทนที่จะได้ PDF มาหนึ่ง File มี 10 หน้า
          - คำสั่งกลับวนซ้ำเหมือนเดิม 10 ครั้ง
          - ทำให้ผลลัพธ์เราได้ PDF ที่มีงานเราทั้ง 10 หน้ามา 10 Files -.-"


จากที่ทดสอบมา ปัญหานี้จะเกิดขึ้น หากเราสั่ง Print แบบ Multi Views/Sheetsโดยเปิดหน้า Schedule ไว้ดังรูป


ถือได้ว่าเป็น ปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย และผู้ใช้บางท่านไม่เคยพบ (ซึ่งดีแล้วครับ ^ ^) แต่ใครที่เคยเจอซักครั้งจะพบว่า การต้องมานั่ง Cancel ทุกหน้าก็ไม่ใช่เรื่องสนุกครับ (ลองคิดดูหากสั่งซัก 60-70 หน้า แล้วงานก่อนพิมพ์ ก็ยังไม่ได้ Save -- ชีวิตจริงที่ประสบมาครับ --)

ปล. เป็นบทความแรกของปี 2014 ถึอโอกาส สวัสดีปีใหม่ (สากลและจีน) ไว้นะทีนี้ด้วยครับ ^ ^

Saturday, December 21, 2013

Section Graphics of Toposurface

ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยเวลาตัด Section ที่มี Toposurface ด้วย คือ ส่วนของ Cut Patter จะหายไปก่อนที่จะถึงระดับที่ต้องการแสดง ดังรูป


   a.   Cut Pattern หยุดก่อนถึงระดับตำสุดที่ตัด
   b.   มองเห็นจุดตำสุดของ Toposurface ซึ่งตัดไปไม่ถึง

วิธีแก้ไข ดังนี้
   1.   ที่ Massing & Site Tab > Model Site > Site Setting (ลูกศรที่มุมล่างขวาของ Panel)


   2.   ที่ Site Setting > Section Graphics > Elevation of poche base: กำหนดค่าให้น้อยกว่าหรือเท่ากับจุดตำสุดของ Toposurface


   3.   ผลลัพธ์ที่ได้

Thursday, October 31, 2013

Annotation ที่หายไปเวลา Export หรือ Print

ก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึง Section ที่หายตอนเปลี่ยนScale แล้ว ครั้งนี้เรามาตามหา สัญลักษณ์ที่หายไประหว่าง Export หรือ Print กันบ้างครับ


จากรูปจะเห็นว่า เมื่อเรา Export จาก Revit เป็น CAD สัญลักษณ์ที่ยังไม่มีการนำ View ของสัญลักษณ์ นั้น ๆ ลงไปใน Sheet จะหายไป จาก DWG file ที่เรา Export ออกมาครับ (Section ทางขวา และ Elevation ทั้งสี่ด้าน)

ซึ่งวิธีการแก้ไขทำได้ดังนี้ครับ

1. ที่ Application Manu (R) > Export > Options > Export Setups DWG/DXF


2. ที่  Modify DWG/DXF Export Setup > General > ยกเลิก Hide unreferenced view tags


3. หากลอง Export ใหม่ ก็จะได้สัญลักษณ์ครบครับ

หรือการ Print หากต้องการแสดงสัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้นำ View ลง Sheet ก็ให้ตั้งค่า ดังนี้
1. ที่ Application Manu (R) > Print > Print Setup


2. ที่ Print Setup > Options > ยกเลิก Hide unreferenced view tags


Sunday, September 29, 2013

เก็บตก Autodesk AEC Conference 2013 (จำเป็นหรือเปล่า ที่ต้องใช้ BIM ?)


วันที่ 26 กันยาที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปบรรยาย ที่งาน Autodesk AEC Conference 2013 Thailand รู้สึกตื่นเต้น และประทับใจมากครับ กับการพูดบนเวทีใหญ่ครั้งแรกในชีวิต ขอบคุณ Autodesk และ Comgraph ที่ให้โอกาส ขอบคุณทุกคำติ-ชม ขอน้อมรับและจะปรับปรุงในโอกาสต่อไป (ถ้ามีครับ)

ด้วยความตื่นเต้น (และเวลาอันจำกัด) ทำให้ลืมพูดถึงอีกมุมมองหนึ่งที่อยากจะแชร์ กับคำถามที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่าถึงเวลาหรือจำเป็นหรือเปล่า ที่เราต้องใช้ BIM” ซึ่งหากถามผม ผมขอตอบว่า "ก็อาจจะไม่จำเป็น" หากยังตอบโจทย์ไม่ได้ว่า ท่านต้องการอะไรจาก BIM”

BIM หรือ Building Information Model ก็เป็นหนึ่งใน Information Technology (IT) ที่ทุกครั้งที่เราจะนำ Technology ใดมาใช้ น่าจะถามตัวเองก่อนครับว่า "เราต้องการอะไรจาก Technology นั้น" เช่น หากเราต้องการเปลี่ยนมือถือจาก Feature Phone เป็น Smart Phone คงไม่มีใครตอบแทนตัวผู้ใช้ได้ ว่าถึงเวลาหรือยัง ควรหรือต้องเปลี่ยนหรือเปล่า หากผู้ใช้บอกว่า ไม่ได้จำเป็นต้องรับส่ง Email ไม่ได้ต้องการใช้ Application ไม่เล่นเกมส์ ไม่ใช้ Social Network การใช้ Feature Phone ก็ยังตอบสนองการใช้งานของท่านได้อยู่ ก็แทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่หากคำตอบไม่เป็นเช่นนั้น หรือแม้แต่ความต้องการ คือ ภาพลักษณ์ที่ทันสมัย การทดลองใช้ Smart Phone ก็อาจจะเป็นคำตอบขึ้นมา

แต่สำหรับ BIM หากจะหวังผลเฉพาะภาพลักษณ์ สำหรับบางบริษัทอาจจะไม่คุ้มค่าในด้านการลงทุนครับ แม้ว่าการเปลี่ยนจาก 2D เป็น 3D ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ได้รับ คือ การลดความผิดพลาดจากการทำแบบอยู่แล้ว แต่แนะนำให้ลองหาประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน Information ใน BIM มากำหนดเป็นเป้าหมายในการปรับใช้ด้วย เช่น เรื่องการคำนวณพลังงาน การประมาณราคา การหา Clash เป็นต้น

การคัดเลือก BIM Team แนะนำให้ลองหาคนที่รู้สึก พร้อมและสนุกที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะเชื่อว่าคนเหล่านั้นจะทำงานให้ท่านได้เกินวันละ 8 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ หากเป็นเรื่องที่เขาสนใจและสนุกแล้ว เวลาที่เขาพร้อมจะทุ่มเทและเรียนรู้จะเป็น 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์

หวังว่ามุมมองนี้ จะเป็นประโยชน์หรือแนวทางให้คน ทีม หรือบริษัทที่สนใจและวางแผนใช้ BIM ครับ

Sunday, September 15, 2013

ปัญหาในการสร้าง Monolithic Stair ที่ Floor to Floor 4800 mm

ปัญหาที่พบเจอโดยบังเอิญระหว่างสอน Revit คือ เราไม่สามารถสร้าง Monolithic Stair ที่ระยะห่างระหว่าง Base Level และ Top Level เท่ากับ 4800 mm ได้ครับ (ทดสอบกับ Revit 2013 และ 2014 โดยใช้ Stair by Component)



โดยหากตั้งระยะห่างที่ 4800mm และสร้าง Monolithic Stair จะได้ผลลัพธ์ดังนี้


 วิธีแก้ไขเบื้องต้น คือ ให้ปรับความหนาของ Monolithic Stair เป็นค่าอื่นที่ไม่ใช่ 150mm ซึ่งเป็นค่า default ดังนี้

1.   เลือก Stair และเลือก Type เป็น Monolithic Stair
      ที่ Type Properties > Run Type


2.   แก้ไขค่า Structure Depth เป็นค่าอื่นที่ไม่ใช่ 150mm (แนะนำให้ Duplicate Type ก่อนแก้ไข)


ผมได้แจ้งปัญหานี้ไปทาง Autodesk แล้ว ซึ่งทาง Autodesk แจ้งว่าได้ส่งประเด็นนี้ไปยังฝ่าย Developer เพื่อทำการแก้ไขแล้ว แต่คงต้องรอ Update Release หรือไม่ก็ Version ถัดไปครับ (-.-“)

Tuesday, August 6, 2013

การสร้าง Slab Edge บนพื้น Slope




ใน Revit พื้น (Floor) ที่ทำ Slope ไว้ก่อนแล้วเราจะไม่สามารถเพิ่ม Slab Edge ได้ ดังนั้นจึงต้องวาง Slab Edge ก่อนถึงปรับพื้นให้มี Slope ดังนี้

1.       สร้างพื้น

2.       วาง Slap Edge
2.1.    เลือกคำสั่ง Slab Edge ที่ Architectural Tab > Build > Floor > Slab Edge

2.2.    วาง Slab Edge ที่ขอบพื้น และ จัดตำแหน่ง
3.       กำหนด Slope ด้วย Slope Arrow
3.1.    เลือกพื้น และใช้คำสั่ง Edit Boundary ที่ Modify Tab > Mode > Edit Boundary

3.2.    เลือกคำสั่ง Slope Arrow ที่ Modify Tab > Draw > Slope Arrow

3.3.    กำหนด Slope Arrow ขึ้นบนพื้น พร้อมทั้งระบุตำแหน่ง หรือ Slope ที่ต้องการ

3.4.    กด Finish ที่ Modify Tab > Mode > Finish
4.       ผลลัพธ์ (สัญลักษณ์ เพิ่มต่างหากด้วย Spot Slope ครับ)

หมายเหตุ แม้เราสามารถสร้างพื้น Slope ได้ด้วยชุดคำสั่งใน Modify > Shape Editing แต่ผลลัพธ์ที่ได้ Slap Edge จะไม่ปรับตาม Slope ที่ทำขึ้น